Healthy farm
เพราะปัญหาสุขภาพของเด็กๆ ไม่ใช่เรื่องเล็ก... ประเทศไทยมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพในรูปแบบต่างๆ
จากผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในปีพ.ศ. 2562 หรือ Thailand Multiple Indicator Cluster Survey โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจใน 17 จังหวัด ทั่วประเทศไทย พบว่าเด็ก 13.3% ประสบกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น 9.2% เผชิญภาวะอ้วน และ 7.7% เผชิญภาวะผอม
มาดูกันว่าหากเด็ก ๆ ต้องเผชิญกับภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะโภชนาการขาด เด็กๆ จะพบกับปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง
แอมเวย์ จึงได้ร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจัดทำโครงการฟาร์มสุขภาพของหนู เพื่อร่วมส่งเสริมให้โรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนได้พัฒนาต่อยอดพื้นที่การเกษตรภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งสร้างผลผลิตที่หลากหลายและปลอดภัยสำหรับนำมาเป็นวัตถุดิบใน การทำอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้แก่นักเรียนอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมส่งเสริมศักยภาพของเด็กๆ ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Active Learning) และผลักดันให้โรงเรียนได้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินโครงการมีความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน
เป้าหมายการดำเนินงาน
- เด็กได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการและมีพัฒนาการตามวัยภายใต้กรอบแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร
- เด็กมีสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
- ส่งเสริมความรู้แก่ครู ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน
รูปแบบการดำเนินงาน
- โรงเรียนจัดทำแผนขับเคลื่อนการปฏิบัติงานโดยเติมเต็มศักยภาพของตนเอง โดยน้อมนำหลัก ‘ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง’ มาเป็นแนวคิดในการนำเสนอแผนงานที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
- มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยจัดกิจกรรมอบรมและศึกษาดูงานให้แก่คณะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและผู้นำชุมชน จากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- โรงเรียนปฏิบัติตามแผนงาน
- ชมผลสำเร็จของโรงเรียน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- โรงเรียน ชุมชน และครอบครัวเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
- ชุมชนที่ห่างไกลเมืองสามารถมีแหล่งผลิตอาหาร ซื้อขายอาหารของชุมชนได้เอง
- รูปแบบโครงการเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน ชุมชน หากไม่มีหน่วยงานภายนอกให้ความช่วยเหลือ โรงเรียนก็ สามารถดำเนินการต่อไปได้ นั่นคือ ต้องมีกองทุนหมุนเวียนที่พึ่งพาตนเองได้
- โรงเรียน ชุมชน มีองค์ความรู้และถ่ายทอดต่อไปได้จนเกิดความชำนาญและตรวจสอบได้