สมุนไพร เพิ่มภูมิคุ้มกัน
รู้จักระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือกลไกที่ชีวิตพัฒนาขึ้นเพื่อปกป้องอันตรายจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือสิ่งแปลกปลอมซึ่งเรียกรวมว่า “แอนติเจน” (antigen) ที่ก่อโรคหรืออันตรายอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น
เมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนจากการสัมผัส กิน หรือหายใจ ปัญหาที่ตามมา ได้แก่ การติดเชื้อ การเกิดโรค ซึ่งความรุนแรงของปัญหาจะเกิดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่อย่างปกติของชีวิต
ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วย 2 ระบบย่อย ได้แก่
1. ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate) ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นกลไกการป้องกันแอนติเจนแบบไม่จำเพาะ
2. ระบบภูมิคุ้มกันจำเพาะ (Adaptive) หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired immunity) หากเชื้อฝ่าด่านแรกเข้าสู่ร่างกาย เซลล์ต่าง ๆ ของระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามกำจัดเชื้อเหล่านั้น เซลล์ที่กล่าวถึงเจริญเติบโตมาจาก stem cell อันเป็นเซลล์ต้นตอในไขกระดูก (รวมทั้งที่รก) ซึ่งเติบโตแปรสภาพ (differentiate) ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เมื่อเซลล์เหล่านี้โตเต็มที่แล้วจึงออกสู่กระแสเลือด ล่องลอยไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ตามหน้าที่เฉพาะตัวแตกต่างกันไปของเซลล์แต่ละชนิด ซึ่งทำงานสอดประสานกันเป็นระบบอย่างน่าอัศจรรย์
ภูมิคุ้มกันร่างกายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไร?
ภูมิคุ้มกันร่างกายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยที่สำคัญคือ พันธุกรรม หากพ่อแม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ลูกก็จะได้รับระบบภูมิคุ้มกันที่ดีเช่นกัน อีกปัจจัยคือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพร่างกาย
การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยพืชสมุนไพร
ถ้าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีประสิทธิภาพ การเกิดโรคภัยไข้เจ็บก็จะน้อยลง ซึ่งกลไกของร่างกายที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของภูมิคุ้มกันมีอยู่หลายอย่าง ในที่นี้ขอกล่าวถึงการเสริมสารอาหาร เช่น วิตามิน เกลือแร่ สารไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ประเภทที่มาจากพืชสมุนไพรเท่านั้น
โดยไฟโตนิวเทรียนท์หรือแม้กระทั่งวิตามินและเกลือแร่บางชนิดทำหน้าที่โดยอิสระหรือร่วมกันเป็นโครงข่ายเพื่อต้านปฏิกิริยาอ็อกซิเดชันปกป้องอันตรายจากอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่เกิดจากรังสีในธรรมชาติ หรือจากปฏิกิริยาอื่นที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นผลมาจากแอนติเจน หรือจากภาวะเครียด ปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ที่มีมากมายเหล่านี้อาจนำไปสู่การผ่าเหล่าของเซลล์ (mutation) หรือเร่งภาวะอักเสบ (inflammation) ขึ้นภายในเซลล์หรืออวัยวะสร้างการบาดเจ็บที่นำไปสู่โรคต่างๆ
สารไฟโตนิวเทรียนท์ในพืชผักสะสมในเปลือก ผิว หรือเนื้อหรือเมล็ดของพืชผักส่งผลให้เกิดสี กลิ่น รส ที่แสดงลักษณะของพืชผักเหล่านั้น สารไฟโตนิวเทรียนส์ในพืชผักส่วนใหญ่คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิหรือกระบวนการเตรียมและการปรุงอาหาร การบริโภคพืชผักที่อุดมด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่เหมาะสมจึงมีส่วนส่งเสริมศักยภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย
สมุนไพร เพิ่มภูมิคุ้มกัน
ขมิ้นชัน
ชะเอมเทศ
อะเซโรลา เชอร์รี
สมุนไพร เพิ่มภูมิคุ้มกัน
การบริโภคพืชผักที่หลากหลาย ทั้งกลิ่น สี รส เป็นวิธีหนึ่งที่มีส่วนช่วยสร้างหรือสนับสนุนให้เกิดภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง โดยพืชผักที่เรียกว่าสมุนไพรเหล่านั้นอุดมด้วยสารไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในที่นี้ขอเน้นพืชผักสมุนไพรที่ให้สารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ให้ประโยชน์ต่อการปกป้องเซลล์และอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ถุงลมในปอด และเนื้อเยื่อปอด ได้แก่ ขมิ้นชัน (Turmeric) ชะเอมเทศ (Licorice) และอะเซโลรา เชอร์รี (Acelora cherry) ถือเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายในอวัยวะกลุ่มนี้ และมีผลอย่างสำคัญที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในกรณีการติดเชื้อ SARS-CoV2 ที่ก่อโรค COVID-19 ที่กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลก รวมทั้งโรคจากไวรัสและจุลชีพที่ก่อโรคอื่น
ขมิ้นชัน (Turmeric)
“ขมิ้นชัน” (Turmeric) เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักกันกว้างขวาง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิด สารตัวสำคัญคือ Curcumin ขมิ้นชันถูกจัดไว้ในตำรับยาสมุนไพรไทยและอินเดียที่มีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้รับการยอมรับว่าเป็น “สมุนไพรมหัศจรรย์” ชนิดหนึ่ง โดยปริมาณที่แนะนำการใช้ขมิ้นชันทั่วไปเพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพคือ 500–2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
มีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวถึงขมิ้นชันในฐานะสมุนไพรที่ใช้เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันและบรรเทาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น COVID-19
ชะเอมเทศ (Licorice)
ชะเอมเทศ (Licorice) เป็นพืชตระกูลถั่ว ในทางเภสัชวิทยามีการนำส่วนต่างๆของพืชมาสกัดเพื่อใช้ในการเยียวยารักษาโรคหลายชนิด สารไฟโตนิวเทรียนท์ตัวสำคัญที่พบคือ Glycyrrhizin มีรายงานวิจัยจำนวนมากพบว่าสารสกัดจากชะเอมเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันโรค เช่น
การใช้รากชะเอมเทศปริมาณ 760 มิลลิกรัม รักษาผู้ป่วย COVID-19 ชายหญิงที่มีอาการปอดบวมจำนวน 60 ราย ในโรงพยาบาลประเทศอิหร่าน โดยใช้สามครั้งต่อวัน นาน 7 วัน สลับกับการใช้วิธีการตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งใช้เป็นกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยรากชะเอมเทศทุเลาจากอาการของโรค โดยมีอาการไข้ตัวร้อน การไอแห้ง อ่อนเพลีย ลดลง ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยต์ต่ำ ภาวะ C-reactive protein สูงในเลือดดีขึ้น ทำให้พบว่าสารสกัดจากชะเอมเทศบรรเทาอาการของโรค COVID-19 ได้ดี
อะเซโลรา เชอร์รี (Acelora cherry)
อะเซโลรา เชอร์รี จัดเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงมากที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งวิตามินซีคือสารอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน นอกจากให้วิตามินซีแล้ว ยังให้สารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ทำงานร่วมกับวิตามินซีในการกำจัดหรือลดฤทธิ์ของอ็อกซิเดชันที่ก่อปัญหาให้กับเซลล์และอวัยวะ โดยมีการศึกษาการทำงานร่วมกันในลักษณะเสริมประโยชน์กันของวิตามินซีและสารไฟโตนิวเทรียนท์คือเกอเซติน (Quercetin) พบว่า
- ช่วยทำให้ศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรคของวิตามินซีดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการป้องกันและบรรเทาโรค COVID-19
- เกอเซตินมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสเสริมการทำงานของวิตามินซีได้ด้วย (Anti-viral property)
ดังนั้น เมื่อมีการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรทั้งสามชนิด ได้แก่ วิตามินซีจากแหล่งธรรมชาติ เช่น อะเซโลรา เชอร์รี (V) สาร curcumin จากขมิ้นชัน (C) สาร glycyrrhizic acid จากชะเอมเทศ (G) พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ผสม VCG ช่วยให้มีคุณสมบัติที่ดีในการควบคุมภูมิคุ้มกันของร่างกายผ่านกลไกต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น จึงนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV2 ได้ดี